ในชีวิตประจำวัน เรามักจะพบกับสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณสอง
ปริมาณ เช่น ระยะทางที่โดยสารรถไฟ
กับค่าโดยสาร ซึ่งเราสามารถเขียนแสดงความสัมพันธ์เหล่านี้ในรูปตาราง แผนภาพ คู่อันดับ
รวมไปถึงการเขียนกราฟ
จากรูปด้านล่างแกน x ตัดกับแกน y ทำให้แบ่งระนาบออกเป็น 4 ส่วน แต่ละส่วนเรียกว่า จตุภาค
จตุภาคที่1 x มีค่าเป็นจำนวนที่มีค่าเป็นบวก y มีค่าเป็นจำนวนที่มีค่าเป็นบวก
จตุภาคที่2 x มีค่าเป็นจำนวนที่มีค่าเป็นลบ y มีค่าเป็นจำนวนที่มีค่าเป็นบวก
จตุภาคที่3 x มีค่าเป็นจำนวนที่มีค่าเป็นลบ y มีค่าเป็นจำนวนที่มีค่าเป็น
จตุภาคที่4 x มีค่าเป็นจำนวนที่มีค่าเป็นบวก y ค่าเป็นจำนวนที่มีค่าเป็นลบ
ตัวอย่างที่1 กราฟของ (2,4) เป็นจุดที่ได้จากการลากเส้นตรงที่ตั้งฉากกับแกน Xที่ตำแหน่งของ 2 ไปตัดกับเส้นตรงที่ลากไปตัดกับเส้นตรงของแกน Y ที่ตำแหน่ง 4 ดังภาพ
ตัวอย่างที่ 2 จงเขียนจุดต่อไปนี้บนระนาบ
A(0,0)
B(4,4)
C(2.5,6)
D(0,-5)
E(5,-2)
F(-2,5)
G(-5,0)
H(-7,-3.5)
วิธีทำ เขียนจุดที่กำหนดให้บนระนาบได้ดังนี้
จากกราฟของคู่อันดับข้างต้นสามารถเขียนพิกัดได้ดังนี้
ตำแหน่งของจุด A จุด A มีพิกัดเป็น(2,3) ตำแหน่งของจุด B จุด B มีพิกัดเป็น(3,4)
ตำแหน่งของจุด C จุด C มีพิกัดเป็น(-1,1) ตำแหน่งของจุด D จุด D มีพิกัดเป็น(-4,2)
ตำแหน่งของจุด E จุด E มีพิกัดเป็น(-2,-3) ตำแหน่งของจุด F จุดF มีพิกัดเป็น(1,-4)
ตำแหน่งของจุด A จุด A มีพิกัดเป็น(3,-2)
No comments:
Post a Comment